นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เยี่ยมชมนิทรรศการผลงานการวิจัยและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก ในการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7   

      นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เยี่ยมชมนิทรรศการผลงานการวิจัยและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก ในการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7 (The Seventh International Conference on Vetiver: ICV-7) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29  พฤษภาคม​ -​ 1​ มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่

      วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2566 นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา นายปวัตร์ นวะมะรัตน เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วย Mr.Jim Smyle ประธานเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ​ และ​ Dr. Paul Truong ร่วมเยี่ยมชมนิทรรศการผลการดำเนินงานหญ้าแฝกในประเทศไทยในการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7 (The Seventh International Conference on Vetiver: ICV-7) ซึ่งในปีนี้ประเทศได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำนักงาน กปร. ร่วมกับสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา จัดการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7 ขึ้น ภายใต้หัวข้อ หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ : เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  การจัดแสดงนิทรรศการผลสัมฤทธิ์จากหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 32 หน่วยงาน อาทิ สำนักงาน กปร. มูลนิธิชัยพัฒนา ปตท. กรมพัฒนาที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง และหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมาย 
ภายในงานมีนิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 หน่วยงานหลัก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน กปร. มูลนิธิชัยพัฒนา กรมพัฒนาที่ดิน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กลุ่มที่ 2 หน่วยงานร่วมดำเนินการจำนวน 21 หน่วยงาน จาก 10 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพลังงาน มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ​ และกระทรวงกลาโหม และกลุ่มที่ 3 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ 

        สำหรับภาพรวมการจัดนิทรรศการมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น สายพันธุ์และต้นกำเนิดหญ้าแฝกในประเทศไทย ผลการดำเนินงานหญ้าแฝกด้านการวิจัย ทดลอง สาธิต การส่งเสริม ขยายผล และนำไปสู่นวัตกรรมหญ้าแฝก อาทิ การผลิตน้ำยาบ้วนปากผสมสารสกัดหญ้าแฝก รวมถึงงานหัตถกรรมจากใบหญ้าแฝก กลุ่มหัตถกรรมแฝกและกกบ้านโคกปรง จ.เพชรบูรณ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝกบ้านแกใหม่ จ.พะเยา กลุ่มผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกบ้านเกาะสวาด จ.นราธิวาส กลุ่มผลิตงานหญ้าแฝกตำบลโนนไทย จ.นครราชสีมา กลุ่มเครือข่ายผลิตภัณฑ์ศูนย์ปราชญ์บ้านมะเมียง จ.สุรินทร์ กลุ่มหัตถกรรมดอกไม้ประดิษฐ์จากธรรมชาติ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีความสวยงาม นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการย้อมผ้า ที่สกัดจากใบหญ้าแฝก โดยเฉพาะเส้นการย้อมเส้นไหม ที่มีสีสรรสวยงามแบบธรรมชาติ อีกทั้ง ยังมีการฝึกอบรมหัตถกรรมจากใบหญ้าแฝก  และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝกของกลุ่มคนรักษ์แฝกและจากหน่วยงานต่าง ๆ อีกมากมาย

            นอกจากนี้ ภายในงานยังมีความรู้เชิงวิชาการ ผ่านการบรรยายจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างชาติ อาทิ การบรรยายเรื่อง “Current and trend in Research, Development & Application of Vetiver System Technology” (แนวโน้มปัจจุบันในด้านการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบหญ้าแฝก) โดย ดร. Paul Truong ผู้อำนวยการด้านเทคนิคและผู้อำนวยการของเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ การบรรยายเรื่อง “Designer Vetiver Genotypes for Environmental and Industrial Applications” (การออกแบบลักษณะทางพันธุกรรมของหญ้าแฝกเพื่อการประยุกต์ใช้ในด้านสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม) โดย ศาสตราจารย์ Umesh Chandra Lavania จากประเทศอินเดีย การบรรยายเรื่อง “International Vetiver Grass Tracking System (iVGT)” (ระบบติดตามเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ) โดย ดร.ศราวุฒิ นิลสวัสดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย​ การบรรยายเรื่อง​ “Vetiver Grass Technology (VGT) for Infrastructure Protection and Disaster Mitigation: Challenges and Future Vision” (เทคโนโลยีหญ้าแฝกเพื่อการป้องกันโครงสร้างและการลดผลกระทบจากภัยภิบัติ: ความท้าทายและวิสัยทัศน์ในอนาคต) โดย Mohammad Shariful Islam ผู้ได้รับรางวัล Vetiver Champion 2023 การนำเสนอผลงานของผู้ได้รับรางวัล The King of Thailand Vetiver Awards ด้าน Outstanding Vetiver Research ด้าน Outstanding Dissemination and Application of the Vetiver System และด้าน Outstanding People Participation รวมถึงมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจภายในงานอีกมากมาย


    
สำนักงาน กปร.
กองประชาสัมพันธ์
a




หวยเด็ดงวดนี้
เรื่องอื่นๆในหมวด