ทิศทาง พลังงาน(ไฟฟ้า)ประเทศไทย แผน PDP 2567-2580: หมุดหมายพัฒนาพลังงานไทย
ร่าง “แผนพลังงานชาติ” (National Energy Plan) ฉบับแรกของไทยกำลังจะประกาศใช้เร็วๆ นี้แล้ว ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำคัญที่จะกำหนดทิศทางว่า จากปีนี้ (2567) จนถึงปี 2580 ประเทศไทยจะขับเคลื่อน พัฒนา และวางนโยบายด้านพลังงาน ประกอบด้วยแผนย่อย ดังนี้ เช่น แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) รวมถึง “แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan: PDP)” มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง โดยเฉพาะเรื่องค่าไฟฟ้า ที่แพงมากเกินความเหมาสม ในปัจจุบัน “เสียงจากประชาชน 5 ภูมิภาคต่อร่างแผน PDP 2024” ซึ่งเป็นการนำเสนอผลจากเวทีระดมความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้ง 5 ภูมิภาค [ แผน PDP 2567-2580 รัฐบาลประกาศโครงการนำร่อง “Direct PPA” จำนวน 2,000 เมกะวัตต์ ที่อนุญาตให้บริษัทเอกชนผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าและเช่าระบบสายส่งได้โดยตรง เพื่อเปิดกว้างให้นักลงทุนต่างชาติ สร้างโรงไฟฟ้า(พลังงานสะอาด)มากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ(ปัจจัยด้านราคา) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP 26) เมื่อปี 2564 รัฐบาลไทยประกาศเจตนารมณ์ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 โดยระหว่างเส้นทางที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น รัฐบาลได้ประกาศว่าภายในปี 2583 การผลิตไฟฟ้าของไทยจะต้องมีสัดส่วนจากพลังงานหมุนเวียน 68%
ไทยมีแผนจะลดโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติจำนวน 6,300 เมกะวัตต์ และจะลดลงเรื่อยๆให้เป็นไปตามแผน(Net Zero) เมื่อกฎหมายฉับบใหม่ออกบังคับประชาชนคนไทยจะใช้ไฟฟ้าถูกลง(ราคาเหมาะสม)
ดร.พงษ์ศักดิ์ พัวพรพงษ์
0814404400