อาจารย์วันชัย พรหมพา ในยุคนี้อาจจะไม่มีใครรู้จักคนชื่อนี้ แต่ในช่วงการเคลื่อนไหวย้อนหลังไปอีกสักสิบปี ท่านมีชื่อเสียงมากในแวดวงการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวใน “ขบวนการกรรมกรไทย”
ในช่วงการ “ต่อสู้”ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)กับกองทัพแห่งชาติ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยไม่สามารถเข้ามามีบทบาทนำการเคลื่อนไหวของกรรมกรได้ แม้จะมีความพยายามเพราะมีการจัดตั้งและ “แนวร่วม”ของ พคท.มีอยู่มาก แต่ด้วยแนวทางการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์ใช้ยุทธวิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธ ป่าล้อมเมือง ซึ่งเป็นแนวทางรุนแรง เป็นยุทธวิธีที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะพิเศษของชนชาติไทย ที่มีลักษณะพิเศษประจำชาติไทย คือ มีความเป็นอหิงสา รักความเป็นไท และรู้จักประสานประโยชน์ ลักษณะพิเศษของชนชาติไทยเช่น การต่อสู้ด้วยอาวุธ ป่าล้อมเมืองไม่สามารถนำการต่อสู้ไปสู่ชัยชนะได้ บทบาททางประวัติศาสตร์อันสำคัญ คือ การประกาศแนวทางของขบวนการกรรมกรไทย เรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาของชาติ” ซึ่งประกาศ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2518 ณ สวนลุมพินี มีการชุมนุมของกรรมกรทั่วประเทศ การประกาศแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาติของขบวนการกรรมกรไทย ณ ครั้งนั้น ทำให้กรรมกรไทยไม่เข้าร่วมการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และสามารถสกัดการกันไม่ให้กรรมกรไทยเข้าร่วมกับ พคท. คือ ไม่หนีเข้าป่า ในช่วง เหตุการณ์ 2519 หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 บทบาทของกรรมกรได้ร่วมกับกองทัพแห่งชาติ เพื่อยกระดับการเคลื่อนไหวที่กองทัพแห่งชาติได้ถูกทำแนวร่วมมุมกลับมาโดยตลอดเพราะกองทัพมักจะใช้ “วิธีการรัฐประหาร” ซึ่งเป็นวิธีการรุนแรงจึงกลายเป็น “แนวร่วมมุมกลับ”ให้กับยุทธศาสตร์ของ พคท. หรือ จะเรียกอีกประการหนึ่งว่า กองทัพ คือ เครื่องมือให้ พคท. ได้รับชัยชนะ
การผลักดันให้รัฐบาลสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ออกประกาศ นิรโทษกรรมให้กับแกนนำนักศึกษา โดยมีออกเป็น พรบ.เพราะว่าในสภาเต็มไปด้วยแนวร่วม พคท. ซึ่งไม่สามารถจะออกเป็น พรบ.ได้เลย จะถูกขัดขวาง
เพราะการผลักดันของกรรมกรที่มีพันธมิตร คือ กองทัพจึงทำให้ พคท.ไม่มีกำลังแนวร่วมในเมือง ไม่สามารถยกระดับการเคลื่อนไหวในเมืองไทยได้ เพราะช่วงนั้น พคท. มีเขตการยึดครองประเทศไทยเกือบค่อนประเทศและประกาศชัยชนะเบ็ดเสร็จใน ปี 2525
หลังการสลายแนวร่วมในเมือง แม้รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์จะมีบทบาทสำคัญในการสลายแนวร่วมในเมืองไปได้ระดับหนึ่ง แต่ก็เพราะรัฐบาลในช่วงนั้นอ่อนแอมาก เนื่องจากการปกครองที่ตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมาอย่างยาวนาน ที่จะให้รัฐบาลชนิดนี้ทำขั้นตอนยุติสงครามจึงเป็นเรื่องยากเย็นและไม่ทันการณ์
เมื่อการเปลี่ยนรัฐบาลมาสู่รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ก็ไม่รีรอที่จะให้พรรคคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะได้อย่างง่ายดาย จึงนำไปสู่การประกาศคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 “การต่อสู้เพื่อให้ชนะคอมมิวนิสต์”
การประกาศคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 รัฐบาลและกองทัพไทยใช้มาตรการทางการเมือง เพื่อรุกกลับต่อแนวทางของ พคท. ด้วย “มาตรการขยายเสรีภาพของบุคคล” ซึ่งเป็นหัวใจหลักของหลักการประชาธิปไตย ใน 5 ข้อ ในข้อที่ 2 โดยหลักการประชาธิปไตยประกอบไปด้วย 1. อำนาจอธิปไตยของปวงชน 2. เสรีภาพของบุคคลบริบูรณ์ 3. ความเสมอภาค 4. หลักนิติธรรม 5. การปกครองจากการเลือกตั้ง มาตรการรุกกลับทางการเมือง ด้วย “หลักการขยายเสรีภาพของบุคคล” นั้น ทำให้ แนวร่วมของ พคท.ที่ต่อสู้ในป่า ยอมกลับเข้าเมืองเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) โดยไม่มีความผิดเพราะเข้าใจผิดและเห็นผิดต่อสถานการณ์จริง ว่าเมื่อได้อำนาจแล้วบ้านเมืองจะเป็นประชาธิปไตยสามารถขจัดการคอร์รับชั่น ประชาชนจะสุขสบาย ประชาชนมีเสรีภาพ มีความเสมอภาค ฯลฯ แนวร่วมและนักศึกษามีความเห็นผิดต่อทฤษฏีทางการเมืองโดยเฉพาะความเข้าใจผิดแนวทางการเมืองของคณะราษฏร์ ว่า “บ้านเมืองเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยแล้ว เมื่อ 2475 ในการเปลี่ยนแปลงของคณะราษฏร์” อีกประการหนึ่งยังเกิดความสับสนในทฤษฏีทางการเมืองของลัทธิคอมมิวนิสต์ นอกจากนั้น องค์การนำของ พคท. ก็ขัดแย้งกัน ถ้าขึ้นมาปกครองประเทศก็ยิ่งจะนำพาประเทศชาติเดินลงเหว แม้หลังสงครามกลางเมืองยุติลง ผรท. ที่กลับเข้าป่าก็ไม่ยอมละทิ้งแนวทางเดิม และไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงกับกองทัพไทยและกรรมกร คือ “การร่วมพัฒนาการเมือง” เพื่อพัฒนาชาติไทย
ในข้อตกลงเพื่อร่วมกันพัฒนาชาติไทย นั้น ก็คือ การพัฒนาการเมืองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ การสร้างประชาธิปไตย เพราะการพัฒนาประชาธิปไตย นั้น จะต้องสร้างประชาธิปไตยก่อนถึงจะพัฒนาประชาธิปไตยได้
และการจะสร้างประชาธิปไตยที่ได้ตกลงร่วมกัน คือ “การขยายอำนาจอธิปไตยของปวงชน” ซึ่งเป็นมาตรการสุดท้ายที่สำคัญที่สุด ในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 การต่อสู้เพื่อให้ชนะคอมมิวนิสต์
เมื่อไม่ได้ทำการรุกกลับทางการเมืองตามมาตรการขั้นตอนที่ 2 ในทางการเมือง ผรท. ก็หันกลับมาเคลื่อนไหวในเมือง ในสาขาอาชีพต่างๆ ยังใช้แนวทางเดิมเรื่อยมา โดยเฉพาะแนวทางคณะราษฏร์ บางคนเป็นนักการเมือง นักวิชาการตามมหาวิทยาลัย สืบทอดมรดกแนวทางการเมือง มาอย่างแน่นหนา โดยเฉพาะ “ลัทธิรัฐธรรมนูญ” เห็นว่าถ้าจะแก้ไขปัญหาทางการเมือง จะต้องแก้ที่ตัวรัฐธรรมนูญ เห็นกฎหมาย “รัฐธรรมนูญ”กับ “ระบอบประชาธิปไตย”เป็นสิ่งเดียวกัน การเคลื่อนไหวทางการเมืองจึงกลับอยู่ภายใต้แนวทางการเมืองของอีหรอบเดิม เป็น “วงจรอุบาทว์” เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นก็จะมีคณะทหารเข้ามายึดอำนาจทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ หาว่ารัฐธรรมนูญ คือ ตัวปัญหาทางการเมือง และมาร่างกันใหม่ ร่างเสร็จก็จัดการเลือกตั้ง เมื่อเลือกตั้ง ได้รัฐบาลเลือกตั้ง ก็จะได้รัฐบาลชนิดเดิมไม่เปลี่ยนแปลงอะไร สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยหลัง “สงครามกลางเมือง”ยุติลงก็ไม่ได้ทำให้บ้านเมืองดีขึ้นกว่าแต่ก่อนประการใดเลย แต่กลับหนักขึ้น จนถึงขั้นที่รุนแรงที่แนวร่วมได้ยกระดับขึ้นสู่อีกรูปแบบหนึ่ง คือ “การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์”และ “ปฏิรูปกองทัพ” โดยปราศจากมาตรการขยายเสรีภาพของบุคคลและมาตรการขยายอำนาจอธิปไตยปวงชน ตามหลักการประชาธิปไตย ทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพถูกแนวร่วมรุกกลับทางการเมืองด้วยการเรียกร้องเสรีภาพ มนุษย์เท่าเทียม ความต่อเนื่องของสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง จึงจมปรักอยู่กับความขัดแย้งเดิมๆ แนวร่วมที่เคลื่อนไหวถูกกฎหมายเล่นงาน ทั้ง มาตรา 112, 115,116, ฯลฯ การดำรงอยู่ของความขัดแย้งทางการเมืองเช่นนี้ไปเรื่อยยิ่งจะทำให้บ้านเมืองหายนะมากขึ้น ในปัญหาที่เป็นปรากฏการณ์เช่นนี้ อาจารย์วันชัย พรหมพา ได้ชี้แจง อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นมานี้ตลอดมาว่าจะแก้ไขได้อย่างไร ที่สำคัญการแก้ไขปัญหาของชาติได้ นั้น “กรรมกร” คือ กำลังหลักที่จะสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยได้ ภารกิจแห่งชีวิตของอาจารย์วันชัย พรหมพา ได้เสียสละความเป็นส่วนตัวเพื่อส่วนรวมมาตลอดชีวิต เพื่อบ้านเมือง จึงเป็นบุคคลที่มีค่าควรแก่การยกย่องและมีเกียรติ์มีศักดิ์ศรีอย่างที่สุด ที่ท่านได้ทุ่มเทมาตลอดเสียชีวิต ซึ่งสิ่งท่านได้เสียสละมาจะได้สูญเปล่าอย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่ท่านได้อธิบายไว้มันคือ “สัจธรรม”