บึงกาฬ... ผอ.ทหารผ่านศึกตรวจเยี่ยมให้กำลังใจนักรบทหารผ่านศึกช่วยผลักดัน "เงินผดุงเกียรติ"
บึงกาฬ.. ผอ.ทหารผ่านศึกตรวจเยี่ยมให้กำลังใจนักรบทหารผ่านศึกช่วยผลักดัน "เงินผดุงเกียรติ"
ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนทหารผ่านศึกในพื้นที่ จ.บึงกาฬ พร้อมชี้แจงการแก้ไขกฎหมาย เพื่อผลักดัน “เงินผดุงเกียรติ” ให้ทหารผ่านศึก และครอบครัว เป้าหมายแรก 3,000 บาท/ เดือน และองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เตรียมไปนำโครงกระดูกนักรบนิรนามที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในประเทศเพื่อนบ้านกลับประเทศไทย
_0.jpg)
ขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ได้กล่าวถึงการผลักดันแก้ไขกฎหมาย เสนอ ร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ… เพื่อผลักดัน “เงินผดุงเกียรติ” ให้ทหารผ่านศึกผู้ถือบัตรชั้น 2,3 และ 4 เป้าหมายแรกเดือนละ 3,000 บาท ประมาณ 6 แสนกว่าคน ซึ่งพ.ร.บ.ปัจจุบัน กล่าวถึงไว้เฉพาะเงินผดุงเกียรติของผู้ถือบัตรชั้น 1 และครอบครัว คือ ทหารผ่านศึกที่ แขน-ขา ขาด, ตาบอด แต่ผู้ถือบัตรชั้นอื่น ๆ ได้เงินช่วยเหลือครั้งคราว ไม่ได้รวมไปถึงครอบครัว จึงนำมาสู่การผลักดัน เพื่อจะแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้พี่ ๆ ทหารผ่านศึกทุกท่านได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด นอกจากนี้ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กล่าวว่าได้มีโอกาสพูดคุยกับ ผอ.สำนักงบประมาณ และที่ประชุมแล้ว ทุกคนก็เห็นเป็นเสียงเดียวกัน และไม่มีใครคัดค้านว่า ควรให้พี่ ๆ ทหารผ่านศึกจริง ๆ แต่ขอดูตัวเลขงบประมาณ และภาระของรัฐบาลที่ต้องดูแลพี่น้องคนไทย ในแต่ละปีก่อน อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่า จะยังคงผลักดันแก้ไขร่าง พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ให้ได้
นอกจากนี้ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ยังมีโครงการที่จะไปขุดโครงกระดูกนักรบนิรนามที่เสียชีวิตขณะไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศลาว สมัยสงครามเย็นด้วย ซึ่งได้มีการพูดคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงทหารของประเทศลาวแล้ว ท่านก็เห็นว่าถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะนำโครงกระดูกของทหารกล้ากลับบ้าน โดยจะมีโครงกระดูกของนักรบนิรนามที่มีวีรกรรมเป็นที่กล่าวขานจนถึงปัจจุบัน เช่น “อินทนิล” หรือ ร.ท.ชูเกียรติ สินค้าเจริญ ผู้ขอปืนใหญ่ยิงถล่มฐานตนเองบนภูเทิง ทุ่งไหหิน ด้วย
โดยในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก มอบของที่ระลึกแก่ผู้แทนทหารผ่านศึก จำนวน 10 นาย ได้แก่ สิบเอกเติม ผลจันทร์ เคยรับราชการสังกัด หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 ได้รับบาดเจ็บ ทำให้พิการทุพพลภาพ ขาซ้ายขาด เมื่อปีพุทธศักราช 2530, ร้อยตรีคำไหล สร้อยโสม เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 3 ณ อำเภอนาแก จังหวัดสกลนคร ได้รับบาดเจ็บทำให้พิการทุพพลภาพตาข้างขวาบอด เมื่อปีพุทธศักราช 2522, พลทหารทวี โนนบริบูรณ์ อดีตกองพลเสือดำ ตำแหน่ง พลปืนเล็ก เมื่อปีพุทธศักราช 2511, สิบเอกบัวเรียน คำพินันท์ เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 3 ณ ช่องโอบก อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับบาดเจ็บทำให้พิการทุพพลภาพขาซ้ายขาด เมื่อปีพุทธศักราช 2531, สิบเอกอินทฉันท์ พุทธามาตย์ เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 ณ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ตำแหน่งสนามพลปืนเล็กได้รับบาดเจ็บทำให้พิการทุพพลภาพที่แขนซ้ายข้อมือขาด เมื่อปีพุทธศักราช 2534, สิบเอกอุดม โพธิ์ใต้ เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 13 ตำแหน่งพลปืนเล็ก ได้รับบาดเจ็บทำให้พิการทุพพลภาพขาขวาขาดใต้เข่า เมื่อปีพุทธศักราช 2522, อาสาสมัครทหารพราน สุทัศน์ บุตรเจริญ เคยรับราชการสังกัด กองกำลังสุรนารี ได้รับบาดเจ็บในสนามทำให้พิการทุพพลภาพตาขวาบอด เมื่อปีพุทธศักราช 2529 ได้รับบาดเจ็บ, ร้อยตรีบังเอิญ โนนริบูรณ์ เคยรับราชการสังกัดกรมผสมที่ 13 ร.พัน 3 ในสนามทำให้พิการทุพพลภาพที่ลำตัว ขาแขน และมือซ้าย ใช้การไม่ได้ เมื่อปีพุทธศักราช 2517, ร้อยตรีสุริยา คำเจริญ เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 13 ได้รับบาดเจ็บในสนามทำให้พิการทุพพลภาพที่ขาซ้ายใต้เข่าขาด เมื่อปีพุทธศักราช 2556 และพลทหารสมพงษ์ โคตรสี ประธานเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ เคยรับราชการสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 เมื่อปี 2532
นิธิศักดิ์ เศรษฐแสงศรี//บึงกาฬ 0933199399
โดยในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก มอบของที่ระลึกแก่ผู้แทนทหารผ่านศึก จำนวน 10 นาย ได้แก่ สิบเอกเติม ผลจันทร์ เคยรับราชการสังกัด หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 ได้รับบาดเจ็บ ทำให้พิการทุพพลภาพ ขาซ้ายขาด เมื่อปีพุทธศักราช 2530, ร้อยตรีคำไหล สร้อยโสม เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 3 ณ อำเภอนาแก จังหวัดสกลนคร ได้รับบาดเจ็บทำให้พิการทุพพลภาพตาข้างขวาบอด เมื่อปีพุทธศักราช 2522, พลทหารทวี โนนบริบูรณ์ อดีตกองพลเสือดำ ตำแหน่ง พลปืนเล็ก เมื่อปีพุทธศักราช 2511, สิบเอกบัวเรียน คำพินันท์ เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 3 ณ ช่องโอบก อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับบาดเจ็บทำให้พิการทุพพลภาพขาซ้ายขาด เมื่อปีพุทธศักราช 2531, สิบเอกอินทฉันท์ พุทธามาตย์ เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 ณ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ตำแหน่งสนามพลปืนเล็กได้รับบาดเจ็บทำให้พิการทุพพลภาพที่แขนซ้ายข้อมือขาด เมื่อปีพุทธศักราช 2534, สิบเอกอุดม โพธิ์ใต้ เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 13 ตำแหน่งพลปืนเล็ก ได้รับบาดเจ็บทำให้พิการทุพพลภาพขาขวาขาดใต้เข่า เมื่อปีพุทธศักราช 2522, อาสาสมัครทหารพราน สุทัศน์ บุตรเจริญ เคยรับราชการสังกัด กองกำลังสุรนารี ได้รับบาดเจ็บในสนามทำให้พิการทุพพลภาพตาขวาบอด เมื่อปีพุทธศักราช 2529 ได้รับบาดเจ็บ, ร้อยตรีบังเอิญ โนนริบูรณ์ เคยรับราชการสังกัดกรมผสมที่ 13 ร.พัน 3 ในสนามทำให้พิการทุพพลภาพที่ลำตัว ขาแขน และมือซ้าย ใช้การไม่ได้ เมื่อปีพุทธศักราช 2517, ร้อยตรีสุริยา คำเจริญ เคยรับราชการสังกัด กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 13 ได้รับบาดเจ็บในสนามทำให้พิการทุพพลภาพที่ขาซ้ายใต้เข่าขาด เมื่อปีพุทธศักราช 2556 และพลทหารสมพงษ์ โคตรสี ประธานเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ เคยรับราชการสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 เมื่อปี 2532
นิธิศักดิ์ เศรษฐแสงศรี//บึงกาฬ 0933199399