เครือข่ายสื่อมวลชน เครือข่ายภาคประชาสังคมและนักวิชาการร่วมกันจัดกิจกรมเวทีบทบาทของสื่อมวลชนและภาคประชาสังคมกับการแก้ปัญหาการซื้อเสียง
วันที่ 7 พฤษภาคม 2568 ที่ห้องประชุมชั้น 2 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.เพชรบูรณ์ ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เครือข่ายสื่อมวลชน เครือข่ายภาคประชาสังคมและนักวิชาการร่วมกันจัดกิจกรมเวทีบทบาทของสื่อมวลชนและภาคประชาสังคมกับการแก้ปัญหาการซื้อเสียง ในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล วันที่ 11 พฤษภาคม 2568 ที่จะถึงนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และผลกระทบที่มีต่อระบบประชาธิปไตยและคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสื่อมวลชน ภาคประชาสังคม และประชาชน ในการสะท้อนสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวทางการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง เพื่อส่งเสริมบทบาทของภาคประชาชนในการเป็นพลเมืองตื่นรู้ กล้าปฏิเสธการซื้อเสียง และพร้อมมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามกระบวนการเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆโดยเฉพาะสื่อมวลชน องค์กรภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อขับเคลื่อนการเลือกตั้งที่สุจริตและโปร่งใสในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ผ่านกิจกรรมรณรงค์ การสื่อสารสร้างสรรค์ และการสื่อสารเชิงรุกในชุมชนการจัดเวทีในครั้งนี้มีภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วม ประกอบด้วย ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ผศ.ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ดร.ประทิน นาคสำราญ นายก อบต.สะเดียง นายมณฑล สนามชัยสกุล ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ นายธีรชัย มังกรทอง ประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์ นายไชยยง ไชยปัน ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.เพชรบูรณ์ นายเทพ เพียมะลัง ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้แทนศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ สถาบันพระปกเกล้า เครือข่ายองค์กรสื่อ ประกอบด้วย สมาคมเครือข่ายนักสื่อสารชุมชน สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์ จ.เพชรบูรณ์ สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนภูมิภาคและสื่อมวลชนท้องถิ่น เข้าร่วมกว่า 25 คนผู้เข้าร่วมเวทีได้กล่าวถึงการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเป็นปัญหาเรื้อรังที่กัดกร่อนรากฐานของประชาธิปไตยไทยมาอย่างยาวนาน การแก้ไขปัญหานี้ไม่สามารถพึ่งพาเพียงหน่วยงานของรัฐหรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เท่านั้น หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ “สื่อมวลชน” และ “องค์กรภาคประชาสังคม” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและค่านิยมทางการเมือง ในอดีตที่ผ่านมาภาคประชาสังคมของเพชรบูรณ์มีความเข็มแข็งในการทำงานเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและมีส่วนผลักดันในการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 จากสภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยทำหน้าการขับเคลื่อนลดน้อยลง จึงอยากให้มีการเดินหน้าขับเคลื่อนกันใหม่ โดยนำสถานการณ์ในปัจจุบันมาเป็นโจทย์ในการทำงานเพื่อให้ประชาชนเกิดการเป็นพลเมืองตื่นรู้ กล้าปฏิเสธการซื้อเสียง และพร้อมมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามกระบวนการเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้เครื่องมื่อสื่อสารของสื่อมวลชนยุคใหม่เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม ผ่านกิจกรรมรณรงค์ การสื่อสารสร้างสรรค์ และการสื่อสารเชิงรุกในชุมชน เผยแพร่ความรู้ ค่านิยมประชาธิปไตยโดยการจัดเวที พื้นที่ในการสื่อสารด้านประชาธิปไตย ทั้งในรูปแบบออนไซต์ ออนแอร์และออนไลน์ โดยมุ่งที่กลุ่มเป้าหมายเยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนทั่วไปซึ่งจะมีการกำหนดรูปแบบ วิธีการและการขับเคลื่อนในโอกาสต่อไป